วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเขียนรายงานการใช้สื่อ

บทที่ 1
บทนำ
**************************************************************
1. ที่มาและความสำคัญ
ในการจัดการเรียนการสอนวิชา ชีววิทยา เรื่องโครงสร้างของเซลล์ ( Cell )ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาของวิชาชีววิทยา ที่ผ่านมาในการจัดการเรียนการสอน โดยการอธิบายและทำปฏิบัติการ อาจไม่พอเพียงต่อการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน การซื้อสื่อที่มีราคาแพง อาจจะดีในเนื้อหาที่อธิบายต่อผู้เรียน แต่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ และไม่ทำให้ผู้เรียน ผู้สอนพัฒนาทักษะการประดิษฐ์สื่อการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นน่าจะมีวิธีการประดิษฐ์โมเดลโครงสร้างเซลล์ ที่ดี มีราคาถูก และอธิบายเนื้อหาให้แก่ผู้เรียนได้ดีมากยิ่งขึ้น
ผู้ประดิษฐ์จึงได้มีแนวคิดในการใช้วัสดุที่เหลือใช้ ซึ่งก็คือกระดาษ มาประดิษฐ์โมเดลโครงสร้างเซลล์แล้วต่อกับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพื่อให้ได้สิ่งประดิษฐ์ที่ศึกษาแล้วเข้าใจง่าย น่าสนใจ มีราคาถูก มีความทนทาน และเหมาะต่อการจัดการเรียนรู้
โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล สามารถทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ได้ดีขึ้น สามารถมองเห็นลักษณะ รูปร่าง องค์ประกอบและหน้าที่ต่างๆของออร์แกลเนลแต่ละอย่างได้ดี ทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นตามไปด้วย และทำให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในการประหยัด นำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมารีไซเคิลใหม่อีกครั้ง อีกทั้งเป้นการแก้ปัญหาภาวะดลกร้อนอีกทางหนึ่ง

2. จุดมุ่งหมายของการรายงาน
1. เพื่อรายงานผลการใช้สื่อการสอน โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล ของนักเรียนชั้น ม.4
2. เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสื่อการสอน

3. วัตถุประสงค์ของการรายงาน
เพื่อรายงานผลการใช้สื่อการสอน โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล



4. เป้าหมายการรายงาน
เพื่อรายงานผลการใช้สื่อการสอน
1. ด้านปริมาณ
นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนกาบเชิงวิทยา ได้ใช้สื่อการสอน โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล ทั้งหมดประมาณ 150 คน
2. ด้านคุณภาพ
2.1 นักเรียนชั้นม.4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ดีขึ้น
2.2 นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
2.3 ผู้สอนได้ผลิตสื่อการสอนที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน
2.4 ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้น
2.5 ผู้สอนได้พัฒนากระบวนการสร้างสื่อการเรียนมากสอน

5.ขอบเขตของการรายงาน
เพื่อรายงานผลการใช้สื่อการสอนโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล ของนักเรียนโรงเรียนกาบเชิงวิทยา ชั้น ม.4 ปีการศึกษา 2550

6. แนวคิดของการรายงาน
ในการรายงานการใช้สื่อการเรียนการสอนนั้น เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานในการพัฒนางานให้เป็นระบบ โดยชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของสื่อและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป

7. ภาระกิจกรรม / รายงาน
1. วิธีการสร้างสื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล
2. คู่มือการใช้สื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล






บทที่ 2
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการสร้าง
**************************************************************
วิธีการสร้างสื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล

1. วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล
1. เศษกระดาษ จำนวน 1.0 กิโลกรัม
2. กาวลาเท็กขวดขนาด 4 ออนซ์ จำนวน 3 ขวด
3. กระดานอัดขนาด 60 x 60 cm จำนวน 1 แผ่น
4. สีโปสเตอร์ขวดขนาดเล็ก จำนวน 3 ขวด
5. เครื่องชั่ง จำนวน 1 เครื่อง
6. น้ำ จำนวน 5 ลิตร
7. ถังพลาสติก จำนวน 2 ถัง
8. แบบโครงสร้างเซลล์พืชจากกระดาษรีไซเคิล จำนวน 1 แผ่น
9. สายไฟฟ้า จำนวน 5 เมตร
10. แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 9 โวลต์ จำนวน 1 อัน
11. สวิตซ์ไฟขนาดเล็ก จำนวน 26 อัน
12. หลอดไฟขนาดเล็ก จำนวน 26 หลอด
13. ลวดกำมะหยี่ จำนวน 1 เมตร
14. กระดานอัดขนาด 1 cm x 50 cm x 80 cm จำนวน 1 แผ่น
15. กาวตราช้าง จำนวน 1 หลอด
16. พลาสติกใส จำนวน 1 แผ่น




2. วิธีการสร้างโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล
1. ขั้นเตรียมวัสดุอุปกรณ์
1.1 นำเศษกระดาษที่ใช้แล้วมาทำการชั่ง โดยใช้เครื่องชั่ง ให้ได้ปริมาตร 1.0 กิโลกรัม
1.2 นำเศษกระดาษที่ได้จากข้อ 1 มาฉีกออกเป็นชิ้นเล็ก
1.3 เมื่อฉีดกระดาษเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว ให้แบ่งบรรจุลงในถังพลาสติก แล้วเติมน้ำลงไปถัง 5 ลิตร พอให้ท่วมกระดาษ แล้วค้างคืนไว้ 1 คืน เพื่อให้เศษกระดาษเปื่อย
2. ขั้นลงมือทำ
2.1 นำกระดานอัดมาตัดให้ได้ขนาดแล้ววาดภาพโครงร่างของโมเดลเซลล์พืชไว้เป็นแบบ
2.2 นำเศษกระดาษที่แช่น้ำไว้แล้ว 1 คืน มาขยี้ให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
2.3 ปั้นเศษกระดาษที่ได้จากข้อ 2.3 เพื่อแยกเอาน้ำออก
2.4 นำเศษกระดาษที่ปั้นได้ใส่ลงในถังแล้วเทกาวลาเท็กซ์ลงไป 3 ขวด คลุกเคล้าให้เข้ากัน หรืออาจใช้กาวจากแป้งเปียกแทนได้
2.5 เมื่อเศษกระดาษผสมเข้ากันกับกาวดีแล้ว ให้นำมาปั้นบนกระดานอัด เป็นรูปร่างของโครงสร้างเซลล์พืช ตามแบบที่มี
2.6 เมื่อปั้นเป็นโครงสร้างเซลล์พืชเรียบร้อยแล้ว นำไปตากแดดให้แห้ง
2.7 เมื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์พืชจากกระดาษรีไซเคิลแห้งแล้ว ให้ใช้สีโปสเตอร์ ทาลงบนโครงสร้างเซลล์พืชตามแบบที่มี หรือทาสีตามชอบ โดยออร์แกลเนลเดียวกันจะทาสีเดียวกัน
2.8 เมื่อลงสีเสร็จแล้ว ให้นำกระดาษสติกเกอร์ที่มีตัวเลขและชื่อ มาติดเพื่อบอก ส่วนประกอบของโครงสร้างเซลล์แต่ละส่วน ตัวเลือกของข้อสอบแต่ละข้อ
2.9 ใช้สว่านเจาะรูตรงหมายเลขออร์แกนเนลทุกหมายเลข และตัวเลือกของข้อสอบแต่ละข้อ เพื่อใส่หลอดไฟ
2.10 ด้านล่างที่เป็นหมายเลขของออร์แกนเนลแต่ละอัน และตัวเลือกของข้อสอบแต่ละข้อ
ใช้สวิตซ์ไฟแบบกดต่อพ่วงมาเข้ากับแบตเตอรี่กระแสตรง ขนาด 9 โวลต์ ที่อยู่ด้านหลังของกระดานอัด
2.11 ด้านหลังของกระดานอัด ใช้สายไฟต่อเข้ากับหลอดไฟที่อยู่ด้านหน้า โดยต่อวงจรแบบขนานเชื่อมมาต่อกับ แบตเตอรี่กระแสตรง ขนาด 9 โวลต์
2.12 ใช้กระดานอัดอีกแผ่นตัดให้ได้ขนาดเท่ากันมาทำเป็นฐานปิดด้านหลัง โดยทำให้เป็นช่องปิดเปิดได้ตรงแบตเตอรี่ เพื่อทำให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เมื่อแบตเตอรี่อ่อน
2.13 ใช้พลาสติกใสหุ้มโมเดลให้เรียบร้อย จะได้โมเดลที่สวย น่าสนใจ และง่ายต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
บทที่ 3
วิธีการใช้โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล*************************************************************
วิธีการใช้โมเดลโครงสร้างเซลล์พืชจากกระดาษรีไซเคิล
เมื่อกดสวิตซ์ไฟที่หมายเลขใด หลอดไฟจะส่าวงตรงออร์แกลเนลนั้น โดยออร์แกนเนลแต่ละอันประกอบด้วย ดังนี้
1. สวิตซ์หมายเลข 1 หมายถึง ผนังเซลล์ หน้าที่ ป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์
2. สวิตซ์หมายเลข 2 หมายถึง เยื่อหุ้มเซลล์ หน้าที่ ควบคุมการเข้าออกของสารระหว่างเซลล์
3. สวิตซ์หมายเลข 3 หมายถึง ร่างแหเอนโดพลาสซึม หน้าที่ สร้างและลำเยงโปรตีน สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
4. สวิตซ์หมายเลข 4 หมายถึงไรโบโซม หน้าที่ สังเคราะห์โปรตีน
5. สวิตซ์หมายเลข 5 หมายถึง กอลจิคอมเพลกซ์ หน้าที่ เป็นแหล่งสะสมสารก่อนนำไปใช้ในกิจกรรมของเซลล์
6. สวิตซ์หมายเลข 6 หมายถึง ไลโซโซม สร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสารต่างๆในเซลล์
7. สวิตซ์หมายเลข 7 หมายถึง แวคิวโอล หน้าที่ เป็นแหล่งสะสมอาหารและสารต่างๆตลอดจนควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์
8. สวิตซ์หมายเลข 8 หมายถึง ไมโทคอนเดรีย หน้าที่แหล่งผลิตและสะสมสารเคมีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
9. สวิตซ์หมายเลข 9 หมายถึง คลอโรพลาสต์ หน้าที่ แหล่งที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
10. สวิตซ์หมายเลข 10 หมายถึง นิวเคลียส หน้าที่ ควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆของเซลล์
เฉลยแบบทดสอบ
1. ค 2. ข 3. ง 4. ก

บทที่ 4
ผลการใช้สื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล************************************************************
วิเคราะห์ผลการใช้สื่อ จากแบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน
ตารางแสดงความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโมเดลสำเร็จรูปจากกระดาษรีไซเคิล
เรื่อง โครงสร้างเซลล์ วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
รายการ
จำนวน
Minimum
Maximum
Sum
Mean/ค่าเฉลี่ย
Std. Deviation
ระดับ

sex
40
1.00
2.00
68.00
1.7000
.46410


น่าสนใจ
40
3
5
174
4.35
.622
มาก

ความชัดเจน
40
3.00
5.00
181.00
4.5250
.55412
มากที่สุด

ภาษาที่ใช้
40
3.00
5.00
181.00
4.5250
.59861
มากที่สุด

เรียงลำดับง่ายไปยาก
40
3.00
5.00
175.00
4.3750
.62788
มาก

ความสะดวกในการใช้
40
3.00
5.00
177.00
4.4250
.59431
มาก

นักเรียนทำตามได้
40
4.00
5.00
189.00
4.7250
.45220
มากที่สุด

ความรู้ที่ได้
40
4.00
5.00
185.00
4.6250
.49029
มากที่สุด

การนำไปใช้กับวิชาอื่น
40
4.00
5.00
194.00
4.8500
.36162
มากที่สุด

ความเหมาะสมกับเนื้อหา
40
3.00
5.00
176.00
4.4000
.63246
มาก

ความต้องการใช้และการมีส่วนร่วม
40
4.00
5.00
196.00
4.9000
.30382
มากที่สุด

Valid N (listwise)
40







ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโมเดลสำเร็จรูปโครงสร้างเซลล์ วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับ ความพึงพอใจมากที่สุด
หมายเหตุ ระดับความพึงพอใจ ระดับ 5 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 4 หมายถึง พึงพอใจมาก
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 3 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 2 หมายถึง พึงพอใจน้อย
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 1 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด

ตารางแสดงความพึงพอใจของครู
โรงเรียนกาบเชิงวิทยา อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
เกี่ยวกับการใช้โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล
รายการ
N/จำนวน
Minimum
Maximum
Sum
Mean/เฉลี่ย
Std. Deviation
ระดับ

sex
10
1.00
2.00
17.00
1.7000
.48305


1. ความสอดคล้องกับหลักสูตรของหลักสูตร
10
4.00
5.00
49.00
4.9000
.31623
มากที่สุด

2. ได้ใช้ตามจุดประสงค์
10
5.00
5.00
50.00
5.0000
.00000
มากที่สุด

3. ความสวยงามน่าใช้
10
4.00
5.00
46.00
4.6000
.51640
มากที่สุด

4. ภาษาขั้นตอนชัดเจน
10
4.00
5.00
43.00
4.3000
.48305
มาก

5. ความเหมาะสมของใบงาน
10
4.00
5.00
44.00
4.4000
.51640
มาก

6. วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสม
10
4.00
5.00
48.00
4.8000
.42164
มากที่สุด

7. เรียงลำดับง่ายยาก
10
4.00
5.00
44.00
4.4000
.51640
มาก

8. นักเรียนทำตามขั้นตอน
10
4.00
5.00
43.00
4.3000
.48305
มาก

9. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
10
4.00
5.00
46.00
4.6000
.51640
มากที่สุด

10. การนำไปใช้ผลิตสื่ออื่น
10
5.00
5.00
50.00
5.0000
.00000
มากที่สุด

Valid N (listwise)
10








ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นและความพึงพอใจของครูที่มีต่อโมเดลสำเร็จรูปจากกระดาษรีไซเคิลเรื่อง โครงสร้างเซลล์ วิชาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด


หมายเหตุ ระดับความพึงพอใจ ระดับ 5 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 4 หมายถึง พึงพอใจมาก
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 3 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 2 หมายถึง พึงพอใจน้อย
ระดับความพึงพอใจ ระดับ 1 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด


บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการใช้สื่อ*************************************************************

ผลการดำเนินงานจากการใช้สื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล
1. นักเรียนสนใจเรียน ตั้งใจเรียนมากขึ้น
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างเซลล์เพิ่มมากขึ้น
3. นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด
4. นักเรียน – ครู ได้ทำงานร่วมกัน สร้างความสนิมสนมคุ้นเคยระหว่างครู-นักเรียน
5. นักเรียนมีแนวทางในการคิดประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุเหลือใช้
6. ครูได้พัฒนางาน พัฒนาวิธีการสร้างสื่อการสอน
7. ได้สื่อการสอน เรื่องโครงสร้างเซลล์ จำนวน 1 สื่อ ที่น่าสนใจ ง่ายต่อการเรียนรู้ มีราคาถูกกว่าท้องตลาด และเป็นการนำเศษกระดาษที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
8. สามารถนำสื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน วิชา วิทยาศาสตร์ ( ชีววิทยา ) และในวิชาฟิสิกส์สามารถใช้อธิบายเกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้า
9. สามารถเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ให้ครูผู้สอนที่สนใจได้ความรู้และแรงจูงใจในการพัฒนาสื่อสิ่งประดิษฐ์









สรุปผล

1. สื่อมีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้มาก
2. มีความสอดคล้องกับเนื้อหา ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหามากที่สุด
3. ภาษาที่ใช้ ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหามากที่สุด
4. เรียงลำดับง่ายไปยาก ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหามาก
5. สื่อมีความสะดวกต่อการใช้งาน ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อความสะดวกต่อการใช้งานในระดับ มาก
6. นักเรียนทำตามขั้นตอนได้ ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหามากที่สุด
7. ความรู้ที่ได้รับ ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหามากที่สุด
8. การนำไปใช้กับวิชาอื่น ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหามากที่สุด
9. ความเหมาะสมกับเนื้อหา ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อเป็นสื่อมีความประหยัดและคุ้มค่า ในระดับมาก
10. ความต้องการใช้ละการมีส่วนร่วม ส่วนมากมีความเห็นว่าสื่อความสะดวกต่อการใช้งานในระดับ มากที่สุด
ดังนั้น สื่อโมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล ที่ผลิตนี้
ผลการประเมินสรุปได้ว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ / แนวการปรับปรุงและพัฒนา
1. กาวที่ใช้ผสมกับกระดาษ อาจเป็นกาวแป้งเปียกก็ได้ เพราะมีราคาถูกกว่า แต่จะทำให้เซลล์แห้งช้า
2. ก่อนที่จะทาสีโมเดล โมเดลนั้นต้องแห้งสนิท เพื่อป้องกันการเกิดรา
3. ในการทำกระดาษให้เปื่อยเร็วอาจใช้สารเร่งการเปื่อยก็ได้
4. สามารถนำรูปแบบการทำนี้ไปทำโมเดลอย่างอื่นที่สนใจได้อีกมากมาย
5. กระดาษที่จะนำทำสื่อควรแยกสี เพราะง่ายต่อการทาสี
6. มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นกระดาษให้มีขนาดเล็ก เพราะจะได้ลดระยะเวลาในการแช่กระดาษ
7. เมื่อทาสีเสร็จแล้วควรมีการเคลือบเงา จะทำให้สื่อมีสีสวยงามและน่าสนใจมากขึ้น
8. ควรมีงบประมาณสนับสนุน






ภาคผนวก










โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล


ภาพนักเรียนใช้โมเดลโครงสร้างเซลล์จากกระดาษรีไซเคิล

ไม่มีความคิดเห็น: